บทความ

Handwriting Skills

KidsDee School write
May 26, 2019

การเขียนเป็นทักษะการเคลื่อนไหวของมือในการเขียนที่มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้การเคลื่อนไหว จะเริ่มเมื่อเด็กรู้จักจับอุปกรณ์การเขียนได้ จากการขีดเขี่ยอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย ไปสู่การเขียนที่เป็นรูปร่าง รูปทรง รูปภาพ รวมถึงตัวเลข และตัวอักษรที่มีความซับซ้อนได้ตามอายุ และสอดคล้องกับทักษะอื่นๆ เช่น การควบคุมการเคลื่อนไหว การทรงตัว การรับรู้ทางสายตาเป็นต้น

Pencil Grips

  • 1-2 ปี   รูปทรงการจับดินสอของเด็กทารกจะเป็นแบบ palmar- supinate grasp คือ

– ถือดินสอในลักษณะกำทั้งมือ

– ส่วนปลายแหลมของดินสออยู่ทางด้านนิ้วก้อย

– ข้อมือมักอยู่ในท่างอและหงายเล็กน้อย

– การเขียนจะเกิดจากการเคลื่อนไหวแขนทั้งหมด คือ ทั้งส่วนต้นแขนและปลายแขน

  • 2 -3 ปี เด็กมีการจับดินสอแบบ Digital – pronate grasp คือ

– ใช้นิ้วหัวแม่มือร่วมกับนิ้วอื่นๆ

– ข้อมืออยู่ในลักษณะคว่ำลง

– การเขียนก็ยังคงใช้การเคลื่อนไหวของแขน ทั้งหมด เช่นเดียวกับระยะแรก

– ข้อมือและมือจะยกขึ้น ไม่วางลงบนกระดาษเพื่อเพิ่มความมั่นคง

  • 3 – 4 ปี เด็กมีการจับดินสอแบบ static tripod grasp คือ

– ใช้นิ้วหัวแม่มือ ร่วมกับนิ้วชี้ และนิ้วกลางในการเขียนได้

– ขณะเขียนก็ยังใช้การเคลื่อนไหวของแขนเป็นส่วนใหญ่

– ข้อมือมีการเคลื่อนไหวเล็กน้อย

  • 4 – 6 ปี

– ใช้นิ้วหัวแม่มือ ร่วมกับนิ้วชี้ และนิ้วกลางขณะเขียน โดยนิ้วกลางเป็นตัวรองรับ

-มีการวางแขนและมือบนโต๊ะเพื่อเพิ่มวามั่นคงของส่วนต้นและส่วนปลาย

– การเขียนจะเกิดการเคลื่อนไหวของนิ้วมือเป็นหลัก

– ไม่มีการเคลื่อนไหวของศอก ข้อมือ

– นำแขนและมืออีกข้างมาช่วยยึดกระดาษไม่ให้เคลื่อนไหวไปมาในขณะกำลังเขียน

  • นอกจากนี้ dynamic tripod grasp แล้วการจับดินสอที่สมบูรณ์ (mature grip) อีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า lateral tripod grasp ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน คือ

-จับดินสอไว้ด้านข้างของนิ้วกลาง และปลายนิ้วชี้ หากแต่นิ้วหัวแม่มืออยู่ในท่าหุบ ในตำแหน่งบนหรือล่างของขอบด้านข้างของนิ้วชี้

-ทั้ง 3 นิ้วจะทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวสำหรับการเขียนได้นั่นเอง

Handwriting Sequences

1 – 2 ปี  – ขีดเขียนขยุกขยิกแบบไม่มีจุดมุ่งหมายมีลักษณะขีดเขี่ยไปมา (scribbles)

2 ปี  – วาดเส้นแนวตั้งและแนวนอนเมื่อแสดงวิธีการให้ดู (imitate— , l  lines)

3 ปี – วาดเส้นแนวตั้งและแนวนอนตามแบบ (copy— , l  lines )

  • วาดเส้นกากบาทเมื่อแสดงวิธีการให้ดู (imitate +)
  • วาดรูปวงกลมตามแบบ (copy  )
  • วาดรูปคนที่มี 3 ส่วน (draw person  3 pts)

4 ปี  -วาดเส้นกากบาทตามแบบ (copy +)

  • วาดรูปสี่เหลี่ยมตามแบบ (copy  )
  • วาดรูปเส้นทแยงมุมซ้าย ขวาตามแบบ (copy / ,\)
  • วาดเครื่องหมายคูณตามแบบ (copy X)

5 ปี  – วาดรูปสามเหลี่ยมตามแบบ  (copy  )

        -วาดรูปคนที่มี 6 ส่วน (draw person 6 pts)

        -เขียนชื่อตัวเองได้

        – เขียนตัวอักษรและตัวเลขได้บ้าง

6 ปี- วาดรูปเพชรหรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนตามแบบ

– วาดรูปธงหรือสี่เหลี่ยมที่มีเส้นทแยงมุมตามแบบ

-วาดรูปคนที่มี 8 -10 ส่วน (draw person 8 10 pts)

  • เขียนตัวอักษรและตัวเลขได้ครบ

Drawing

การวาดเขียนของเด็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกันและภาพวาดก็ไม่เพียงพอแต่บ่งบอกถึงความสามารถทางการเคลื่อนไหวเท่านั้น หากยังสะท้อนถึงอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการตามการรับรู้และความเข้าใจของเด็กอีกด้วย การวาดเขียนของเด็กเริ่มจากการลากเส้นอย่างไม่มีความหมาย ไปจนกระทั่งสามารถที่จะลากเส้นที่มีความหมาย สร้างสัญลักษณ์ และการสื่อความหมายได้ โดย Victor Lowenfeld ได้อธิบายถึงพัฒนาการทางศิลปะจากการวาดเขียนของเด็กตั้งแต่ก่อนวัยเรียน วัยเรียน จนไปถึงวัยรุ่นว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นขีดเขี่ย ขั้นก่อนแบบแผน ขั้นเริ่มเหมือนจริง ขั้นเลียนแบบธรรมชาติ และขั้นตัดสินใจ

ขั้นขีดเขี่ย (the scribbling stage ) : 2 – 4 ปี

ระยะนี้เด็กยังไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อมือได้ การแสดงออกทางการวาดเขียนจึงเป็นลักษณะการขีดเขี่ยเพื่อจะพัฒนาการเคลื่อนไหวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

(1) random or disordered scribbles

ขีนเขียนอย่างสะเปะสะปะ เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ดีพอ การขีดเขียนจึงเกิดการเคลื่อนไหวของส่วนแขนเป็นหลักลายเส้นที่เขียนจึงมีลักษณะยุ่งเหยิง ไม่มีระเบียบ

(2) controlled scribbles

เป็นระยะที่สายตาและมือเริ่มมีการประสานสัมพันธ์กัน เด็กจึงควบคุมการขีดเขียนของตัวเองได้มากขึ้น ลายเส้นที่เขียนจะเปลี่ยนจากสะเปะสะปะไปสู่การขีดเขียนเป็นเส้นโค้งซ้ำไปซ้ำมาในแนวตั้งและแนวนอน และลากโดยมีเค้าร่างเป็นวงกลม

(3) named scribbles

เริ่มตั้งชื่อหรือบอกเล่าเกี่ยวกับเส้นที่ตัวเองขีดเขียน ซึ่งแสดงถึงความสนใจและความคิดที่มีต่อสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น แม้เส้นที่ลากจะดูไม่เป็นรูปร่างนั้นๆก็ตาม

ขั้นก่อนแบบแผน (the preschematic stage): 4 -7 ปี

ระยะนี้เด็กเริ่มเห็นความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างหรือรูปทรงที่วาดกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น ใช้รูปวงกลมและเส้นตรงมาประกอบกันเป็นดวงอาทิตย์ ดอกไม้ ลูกบอลชายหาดภาพที่ปรากฏจึงสามารถสื่อสานความหมายสิ่งที่เด็กวาดได้

เริ่มที่จะวาดเป็นภาพคน ไม่ว่าจะเป็นตัวเอง พ่อ แม่ หรือคนอื่นๆที่ตนพึงพอใจ ซึ่งในระยะแรกจะเขียนเฉพาะใบหน้าหรือคนทั้งตัวด้วยรูปวงกลมมีแขนขาประกอบเล็กน้อยคล้ายลูกอ๊อดได้ก่อน จากนั้นจึงเริ่มเขียนภาพที่สื่อเป็นเรื่องราวได้ เช่น บ้าน สัตว์ และคน ในภาพเดียวกัน และมักจะเป็นไปตามจินตนาการหรือสิ่งที่เด็กได้พบเห็นจากแวดล้อมการ์ตูนหรือนิทานเป็นต้น

Leave A Comment:

Your email address will not be published. Required fields are marked *