บทความ

พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว (Motor Development)

KidsDee School focus
May 26, 2019

พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว

การเคลื่อนไหว (Motor or Movement) เป็นความสามารถในการขยับ ปรับเปลี่ยน หรือเคลื่อนย้ายร่างกายหรือส่วนของร่างกายทั้งที่เกิดขึ้นด้วยตั้งใจและที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ อันเนื่องมาจากการทำงานของระบบประสาท  กล้ามเนื้อ และโครงกระดูก การเคลื่อนไหวของมนุษย์เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ในระยะก่อนคลอดและพัฒนาขึ้นเป็นลำดับจากแบบแผนการเคลื่อนไหวที่เป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับ สู่การเคลื่อนไหวภายใต้การควบคุมของอำนาจจิตใจที่ซับซ้อนและมีทักษะมากขึ้นได้  ในวัยทารก เด็กทารกจะมีการเจริญเติบโตทางร่างกายอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับการถึงวุฒิภาวะของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดระดับความพร้อมและแบบแผนของปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว

แรกเกิด  –  3 เดือน

ท่านอนคว่ำ

  • แรกเกิด  –  1 เดือน เด็กทารกมักจะอยู่ในท่าตัวงอ
  • เด็กทารกจะควบคุมศีรษะรวมถึงคอได้ดีขึ้น เป็นลำดับ โดยสามารถ ยกศีรษะได้ 30 , 45  และ 90 องศา เมื่ออายุประมาณ 2 3 และ 4 เดือน

ท่านอนหงาย

  • ศีรษะของเด็กทารกแรกเกิดจะเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง รวมทั้งรวมตัว แขน และขา ทั้งสองด้านยังไม่สมมาตรเนื่องจากอิทธิของ ATNR แรกเกิด 4 6 เดือน หรืออาจะพบมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อเหยียดสูงกว่าปกติ

ท่านั่ง

  • หากดึงทารกแรกเกิดให้ลุกขึ้นนั่งจากท่านอนหงาย ศีรษะของเด็กจะห้อยตกไปด้านหลัง
  • เมื่อจับนั่ง ศีรษะจะก้มตกไปด้านหน้า ขณะที่หลังโค้ง

ท่ายืน

  • หากจับยืนขาทั้ง 2 ข้างจะยังไม่สามารถรับน้ำหนักได้ เมื่อฝ่าเท้าสัมผัสพ้น โดยเด็กทารกจะงอขาสลับซ้ายขวาคล้ายก้าวเดิน

4 – 6 เดือน

ท่านอนคว่ำ

  • เด็กทารกจะสามารถชันคอได้ประมาณ 90 องศา และลงน้ำหนักบนท่อนแขนล่างได้ เมื่ออายุประมาณ 4 เดือน เมื่ออายุ 6 เดือน มีความมั่นคงและสมดุลขณะทรงท่ามากขึ้นหลังจากมีการตอบสนองของปฏิกิริยารักษาสมดุล

ท่านอนหงาย

  • เมื่ออายุประมาณ 4 เดือน ร่างกายทั้ง 2 ด้านของเด็กทารกจะอยู่ในลักษณะสมมาตร ศีรษะอยู่ในแนวกลางลำตัว และสามารถนำแขนและมือทั้งสองข้างเข้าสู่กลางลำตัว

ท่าพลิกตะแคง

  • เด็กทารกสามารถพลิกตะแคงตัวจากท่านอนคว่ำไปท่านอนหงายได้ เมื่ออายุ 5 6 เดือน และจากท่านอนหงายไปท่านอนคว่ำได้เมื่ออายุประมาณ 6 7 เดือน

ท่านั่ง                                                                 

  • ศีรษะของเด็กทารกจะไม่ห้อยตกไปด้านหลังเหมือนช่วงก่อน เมื่อดึงให้ลุกขึ้นจากท่านอนหงายและขณะจับนั่ง ศีรษะตั้งตรง หลังส่วนบนก็เหยียดตรงได้มากขึ้น แต่หลังส่วนล่างยังมีลักษณะโค้งอยู่

ท่ายืน

  • เด็กจะสามารถลงน้ำหนักได้เต็มฝ่าเท้าขณะจับยืน เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน

7 – 9เดือน

ท่านอนคว่ำ

  • เมื่ออายุ 7 เดือนเด็กสามารถคืบไปข้างหน้าได้

ท่านั่ง                                             

  • สามารถที่จะลุกนั่งจากท่านอนคว่ำและท่านอนตะแคงเองได้เมื่อประมาณ 8  9 เดือน
  • อายุ 8 9 เดือน การนั่งมั่นคงขึ้น สามารถใช้มืออิสระ

ท่ายืน

  • เด็กทารกจะสามารถดึงตัวเกาะยืนเองได้ เมื่ออายุประมาณ 9 เดือน

10 – 12 เดือน

  • เด็กทารกจะสามารถคืบ คลาน ได้คล่องขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนท่าทางการนั่งได้หลายรูปแบบ ทั้งท่านั่งแบบ W-sitting แต่พัฒนาการด้านกล้ามมัดใหญ่เด่นชัดมากก็คือ ความสามารถในการยืนและการเดิน
  • เมื่ออายุประมาณ 10 เดือน หลังจากดึงตัวเกาะยืนได้แล้วเด็กทารกก็จะเกาะเดินไปด้านข้าง
  • ในเดือนที่ 11 เด็กทารกจะสามารถทำได้หากจูงมือทั้ง 2 ข้างของเด็ก
  • หลังจากนั้นเมื่อครบ 1 ขวบ หรือ 12 เดือน จึงจะเดินไปด้านหน้าโดยจูงมอเพียงข้างเดียวได้ รวมทั้งยังสามารถยืนเองได้ชั่วขณะในระยะปฏิกิริยาสมดุลในท่ายืนเริ่มปรากฏขึ้น มักเรียกว่า “ตั้งไข่”

15 เดือน

  • คลานขึ้นลงบันได ได้
  • นั่งยองๆ ได้
  • เดินเตาะแตะด้วยตัวเองได้เป็นครั้งแรก ในลักษณะที่มีฐานรองรับกว้าง หลังส่วนล่างยังแอ่นไปข้างหน้า เช่นเดียวกับส่วนแขนที่ยังยกขึ้น ทั้งนี้ก้าวแรกของเด็กยังไม่ราบเรียบจังหวะการเดินไม่สม่ำเสมอ

18 เดือน

  • ปีนขึ้น ลง เก้าอี้หรือเฟอร์นิเจอร์เตี้ยๆได้
  • เริ่มนั่งบนเก้าอี้

24 เดือน

  • เดินขึ้น ลง บันไดโดยเกาะราวได้ แต่ยังไม่สลับเท้า
  • วิ่งในระยะสั้นๆ
  • เตะลูกบอลไปด้านหน้าได้

พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine motor development) หมายถึง การได้มาซึ่งความสามารถในการแสดงพฤติกรรมการเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อมือ รวมถึงกล้ามเนื้อแขนและใบหน้า เช่นกล้ามเนื้อตาและปาก ได้อย่างเหมาะสมกับวัย

แรกเกิด –  3 เดือน

  • แรกเกิดมือของเด็กทารกจะอยู่ในลักษณะกำเป็นส่วนใหญ่
  • อายุได้ 1 เดือน มือที่กำจะเริ่มคลายออกเมื่อเห็นวัตถุ
  • หากนำวัตถุนั้นๆ ได้ชั่วครู่จากอิทธิพลของปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

4 – 6 เดือน

  • ปฏิกิริยากำเริ่มหาย มือของเด็กทารกมีลักษณะกำแบบหลวมๆ ขณะนอนหรือยู่นิ่งๆ ต่างจากช่วงก่อน
  • ช่วงเดือนที่ 4 เด็กซากจะสามารถนำมือเข้าสู่แนวกลางลำตัวและเริ่มกำได้หากนำของเล่นหรือวัตถุใส่ในมือ
  • อายุ 5 – 6 เดือน เด็กทารกจะสามารถ

– เคลื่อนไหวแขนไปมาได้อย่างตั้งใจ

– เริ่มเอื้อมมือไปยังวัตถุเป้าหมาย

– กำและเปลี่ยนถ่ายวัตถุ เช่น บล็อกไม้หรือของเล่น ที่มีด้ามจากมือข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้

– มีรูปแบบการกำแบบ ulnar palmar grasp คือใช้บริเวณนิ้วนางและนิ้วก้อยในการกำวัตถุเป็นหลัก

– แต่สำหรับวัตถุขนาดเล็ก เช่น ลูกเกด ถั่ว เมล็ดพืช เด็กทารกจะใช้ปลายนิ้วในลักษณะกวาดหรือเขี่ยเข้ามา

  • อายุ 7-9 เดือน

– อายุ 7 เดือน การกำของทารกจะเปลี่ยนจาก ulnar side ไปสู่ radial side โดยใช้บริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วนางในการกำวัตถุเป็นหลัก ซึ่งเรียกว่า radial palmar grasp และเริ่มที่จะหยิบวัตถุขนาดเล็กแบบ lateral ulnar grasp ได้โดยนิ้วหัวแม่มืออยู่ในลักษณะหุบหรือแนบ (adduction) กับด้านข้างของนิ้วชี้คล้ายการจับลูกกุญแจ

– อายุ 8 9 เดือน เด็กทารกจะสามารถ ใช้นิ้วมือหยิบอาหารเข้าปากด้วยตัวเองได้ (finger feeding) และสามารถปล่อยวัตถุได้อย่างตั้งใจ

  • อายุ 10 – 12 เดือน

– ระยะนี้ การหยิบจับวัตถุของเด็กทารกปรากฏให้เห็นหลายรูปแบบ

– อายุ 10 11 เดือน เด็กทารกจะหยิบจับวัตถุขนาดเล็กด้วยนิ้วหัวแม่มือและบริเวณด้านข้างของนิ้วชี้ คล้ายลักษณะการจับกรรไกร

– อายุ 11 12 เดือน เด็กทารกจะสามารถใช้ส่วนปลายของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ร่วมกันในการหยิบจับวัตถุขนาดเล็กได้ ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีความละเอียดมาก

-ส่วนการหยิบจับที่ระเอียดที่สุด ได้แก่ superior palmar grasp ที่ใช้ส่วนปลายสุดของนิ้วแม่มือและนิ้วชี้เพื่อหยิบจุบวัตถุขนาดเล็กมากๆ เช่น หมุด กระดุม เชือก จะพัฒนาขึ้นเมื่อเด็กทารกอายุประมาณ 12 เดือน

  • อายุ 12 – 24 เดือน

– อายุ 12 เดือนขึ้นไป การใช้มือของเด็กทารกจะมุ่งหมายมากขึ้นในการทำกิจกรรมต่างๆ

– อายุ 15 เดือน สามารถต่อลูกบาศก์ได้ 2 ก้อน

– อายุ 18 เดือน สามารถต่อลูกบาศก์ได้ 3 ก้อน

– อายุ 24 เดือน สามารถต่อลูกบาศก์ได้ 6 ก้อน และเลียนแบบการต่อลูกบาศก์เป็นรถไฟที่ไม่มีปล่องไฟได้

Leave A Comment:

Your email address will not be published. Required fields are marked *